ซอฟต์แวร์ทางการแพทย์ easy clinic vet
Easy Clinic Vet
โปรแกรมคลินิกรักษาสัตว์ ซอฟต์แวร์สนับสนุนงานสำหรับสัตวแพทย์ เก็บประวัติการรักษา สั่งจ่ายยา ฉีดวัคซีน โปรแกรมตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคสัตว์ทางด้านอายุรกรรม ศัลยกรรม เก็บประวัติการตรวจวินิจฉัยโรคต่างๆ เช่น โรคผิวหนัง ขี้เรื้อน โรคเบาหวาน ต่อมไทรอยด์ โรคที่เกี่ยวกับกระดูกและข้อ มีฟังก์ชั่นการทำงานที่หลากหลายตอบสนองครบทุกความต้องการ พร้อมด้วยระบบจัดการคลังเวชภัณฑ์ (Inventory) เต็มรูปแบบ
ระบบรับชำระเงินมัดจำ
เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกค้านำสัตว์เลี้ยงมารักษาแล้วปล่อยทิ้งสัตว์เลี้ยงไว้ที่คลินิกและสถานพยาบาลต่างๆ หรือไม่ยอมมารับสัตว์เลี้ยงของตัวเองกลับบ้าน
สามารถรับเงินมัดจำได้หลายช่องทางเช่น รับชำระด้วยเงินโอน รับชำระด้วยเงินสด รับชำระด้วยบัตรเครดิต
เมื่อทางคลินิกทำการตรวจรักษาเสร็จสิ้นแล้ว สามารถรับชำระค่าบริการโดยหักจากเงินมัดจำและชำระเงินส่วนที่เหลือได้
เวชระเบียน
สำหรับเก็บประวัติของสัตว์เลี้ยง สามารถค้นหาข้อมูลจาก ชื่อสัตว์เลี้ยง ประเภทสัตว์เลี้ยง สายพันธุ์สัตว์ รหัส ชื่อ สกุล เบอร์โทร อีเมล์ ของเจ้าของสัตว์เลี้ยง วันที่สมัครสมาชิก ระดับการรักษา ฯลฯ
รายละเอียดข้อมูลสัตว์เลี้ยง
- สามารถเพิ่ม ลบ แก้ไขข้อมูลสัตว์เลี้ยงได้
- สามารถบันทึกรูปภาพสัตว์เลี้ยงจากกล้อง Webcam ได้
- มีการเก็บบันทึกข้อมูลที่สำคัญเบื้องต้นเช่น เพศ,สายพันธุ์สัตว์,ประเภทสัตว์เลี้ยง,วันเดือนปีเกิด,อายุ,กรุ๊ปเลือด เป็นต้น
- สามารถเก็บข้อมูลเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงเช่น โรคประจำตัว,การแพ้ยา,การแพ้อาหาร
- สามารถดูประวัติการรักษาได้ เช่นประวัติการจ่ายยา การทำทรีทเมนท์ และการรักษาอื่นๆ
ระบบควบคุมสต็อกยา Inventory
โปรแกรมจัดการคลังเวชภัณฑ์ ควบคุมสต็อก กำหนดต้นทุนเวชภัณฑ์ กำหนดราคาขาย
- สามารถเพิ่มข้อมูลสินค้าได้ไม่จำกัดรายการ
- สามารถกำหนดวิธีใช้ยาทั้งภาษาไทยและอังกฤษ เช่น ก่อนอาหาร หลังอาหาร
- สามารถระบุช่วงเวลาใช้ยา เช่น เช้า กลางวัน เย็น ก่อนนอน
- สามารถสั่งพิมพ์ฉลากยา วิธีใช้ยาทั้งภาษาไทยและอังกฤษได้
- สามารถกำหนดประเภทและกลุ่มของเวชภัณฑ์เพื่อนำไปออกรายงานการจ่ายยาตามแต่ละประเภท
- สามารถพิมพ์ใบตรวจนับสต็อกออกเป็นกระดาษ A4 เพื่อนำไปตรวจนับสต็อกได้
การจัดทำบัญชียา สำหรับร้านขายยาแผนปัจจุบัน
ตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง กำหนดแบบคำขอและใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน ลงวันที่16 พฤษภาคม พ.ศ.2557
กำหนดให้จัดทำบัญชีดังนี้
1. บัญชีการซื้อยา
ให้จัดทำบัญชีการซื้อยาแต่ละอย่างทุกครั้งโดยแสดงเลขที่หรืออักษรของครั้งที่
ผลิต ชื่อผู้ขาย (ดูให้ดี กฎหมายใช้คำว่า “ผู้ขาย” คือ คนที่ไปซื้อยากับเขา ไม่ใช่ “บริษัทที่ผลิต”) ยาที่ขาย ชื่อ และปริมาณยา
ตลอดจนวัน เดือน ปีที่ซื้อ และลงรายชื่อผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ ตาม
แบบ ข.ย. 9
ดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่ คลิก
ตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง รายการยาอันตรายที่ต้องทำบัญชีการขายยา ลงวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ.2558 ได้กำหนดรายการยาอันตรายที่ต้องทำบัญชี ตาม แบบ ข.ย.11 ดังนี้
(1) ยาที่มีตัวยาทรามาดอล (Tramadol) เป็นส่วนประกอบ ทั้งในตำรับยาเดี่ยว และยาสูตรผสม ทุกรูปแบบ
(2) ยาที่มีตัวยาเดกซ์โตรเมธอร์แฟน (Dextromethorphan) เป็นส่วนประกอบในตำรับยาเดี่ยวและยาสูตรผสม ทุกรูปแบบ
(3) ยาที่มีตัวยาในกลุ่มแอนติฮีสตามีน (Antihistamine) ตามรายการที่แนบท้ายประกาศ ที่เป็นส่วนประกอบทั้งในตำรับยาเดี่ยวและยาสูตรผสม เฉพาะที่เป็นยารูปแบบยาน้ำ
(3.1) บรอมเฟนนิรามีน (Brompheniramine)
(3.2) คาร์บิน็อกซามีน (Carbinoxamine)
(3.3) คลอร์เฟนิรามีน (Chlorpheniramine)
(3.4) ไซโปรเฮปทาดีน (Cyproheptadine)
(3.5) เดกซ์คลอร์เฟนิรามีน (Dexchlorpheniramine)
(3.6) ไดเมนไฮดริเนต (Dimenhydrinate)
(3.7) ไดเฟนไฮดรามีน (Diphenhydramine)
(3.8) ด็อกซี่ลามีน (Doxylamine)
(3.9) ไฮดรอกซีซีน (Hydroxyzine)
(3.10) โปรเมทาซีน (Promethazine)
(3.11) ไตรโพรลิดีน (Triprolidine)
ดังนั้น เซทิริซีน ไซรัป (Cetirizine Syrup), ลอราทาดีน ไซรัป (Loratadine Syrup) ไม่ต้องทำ บัญชี ข.ย.11 ในขณะนี้ ดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่ คลิก 3. บัญชีการขายยาควบคุมพิเศษ
ตามกฎกระทรวงการขออนุญาตและการออกใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน พ.ศ. 2556 และประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง กำหนดแบบคำขอและใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน ลงวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ.2557 กำหนดให้จัดทำบัญชีการขายยาควบคุมพิเศษแต่ละอย่างทุกครั้งโดยแสดงเลขที่หรืออักษรของครั้งที่ผลิต ชื่อและปริมาณยา ตลอดจนวัน เดือน ปี ที่ขายตาม แบบ ข.ย. 10 และให้เก็บบัญชีไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า สามปีนับแต่วันขาย ซึ่งแบบตาม แบบ ข.ย. 10 ใบหนึ่งเขียนได้เฉพาะชื่อการค้าเดียวและเลขที่หรืออักษรของครั้งที่ผลิตเดียวเท่านั้น ที่สำคัญ คือ แบบ ข.ย.10 นี้ ให้ระบุชื่อผู้ซื้อด้วย) ดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่ คลิก 4. บัญชีการขายยาตามประเภทที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากำหนด
รายการยาที่ต้องรายงานต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ลงวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ.2558 กำหนดให้ผู้รับอนุญาตขายยาแผนปัจจุบันเฉพาะที่เป็นขายส่ง และผู้รับอนุญาตขายส่งยาแผนปัจจุบัน รายงานการขายยาตาม แบบ ข.ย.13 ทุก 4 เดือน และส่งรายงานต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาภายใน 30 วันนับแต่วันครบกำหนด 4 เดือน โดยมีรายการยาที่ต้องทำ บัญชี ข.ย.13 ดังนี้
(1) ยาที่มีตัวยาทรามาดอล (Tramadol) เป็นส่วนประกอบในตำรับยาเดี่ยวและยาสูตรผสม ทุกรูปแบบ
(2) ยาที่มีตัวยาเดกซ์โตรเมธอร์แฟน (Dextromethorphan) เป็นส่วนประกอบในตำรับยาเดี่ยวและยาสูตรผสม ทุกรูปแบบ
(3) ยาที่มีตัวยาในกลุ่มแอนติฮีสตามีน (Antihistamine) ตามรายการที่แนบท้ายประกาศฉบับนี้ที่เป็นส่วนประกอบทั้งในตำรับยาเดี่ยวและยาสูตรผสม เฉพาะที่เป็นยารูปแบบยาน้ำ
(3.1) บรอมเฟนนิรามีน (Brompheniramine)
(3.2) คาร์บิน็อกซามีน (Carbinoxamine)
(3.3) คลอร์เฟนิรามีน (Chlorpheniramine)
(3.4) ไซโปรเฮปทาดีน (Cyproheptadine)
(3.5) เดกซ์คลอร์เฟนิรามีน (Dexchlorpheniramine)
(3.6) ไดเมนไฮดริเนต (Dimenhydrinate)
(3.7) ไดเฟนไฮดรามีน (Diphenhydramine)
(3.8) ด็อกซี่ลามีน (Doxylamine)
(3.9) ไฮดรอกซีซีน (Hydroxyzine)
(3.10) โปรเมทาซีน (Promethazine)
(3.11) ไตรโพรลิดีน (Triprolidine)
(4) ยาที่มีตัวยาซิลเดนาฟิล (Sildenafil) หรือทาดาลาฟิล (Tadalafil) หรือวาเดนาฟิล (Vardenafil) ในตำรับยาเดี่ยว เฉพาะที่เป็นรูปแบบยาเม็ดและยาแคปซูล ดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่ คลิก 5. บัญชีขายยาตามใบสั่งยา
บัญชีนี้จะเกิดขึ้นเมื่อมีการขายยาตามใบสั่งใบสั่งยาของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบโรคศิลปะ หรือผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ ไม่ว่ายานั้นจะเป็นประเภทใดก็ตาม และตามกฎกระทรวงการขออนุญาตและการออกใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน พ.ศ. 2556 และประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
เรื่อง กำหนดแบบคำขอและใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน ลงวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ.2557 ให้จัดทำบัญชีการขายยาแต่ละอย่างทุกครั้งที่ขายตามใบสั่งยาของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบโรคศิลปะ หรือผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ โดยแสดงชื่อ อายุ และที่อยู่ของผู้ใช้ยา ชื่อ และที่อยู่หรือที่ทำงานของผู้สั่งยา ชื่อและปริมาณยา ตลอดจนวัน เดือน ปี ที่ขายตาม แบบ ข.ย. 12 และให้เก็บใบสั่งยาไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปีนับแต่วันขาย และให้เก็บบัญชีไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามปี นับแต่วันขาย ดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่ คลิก
การกำหนดรูปแบบวิธีใช้ยาและสรรพคุณต่างๆ
สามารถกำหนดหนดวิธีใช้และสรรพคุณได้ทั้งภาษาไทย อังกฤษ พม่า ลาว เขมร รัสเซีย เพื่อสั่งพิมพ์ฉลากยาออกทางเครื่องพิมพ์
โปรแกรมพิมพ์ฉลากยา
- รองรับการพิมพ์ฉลากยาทั้งภาษาไทย อังกฤษ พม่า ลาว เขมร รัสเซีย
- รองรับเครื่องพิมพ์ฉลากยาทุกยี่ห้อ
ระบบการตรวจรักษา
เมนหู้องตรวจรักษาเป็นเมนูสำหรับบนัทกึรายละเอียดการรักษาต่างๆ ของสัตว์เลี้ยง ไมว่าจะเป็นการ
- สั่งจ่ายยาและเวชภัณฑ์ต่างๆ
- การสั่งจ่ายยาจากสตูรยา การสั่งจ่ายยาจากประวัติที่เคยมารักษา
- การตรวจวินิจฉัย
- การทําทรีทเมนท์
- การทําแล็บ
- มีแบบฟอร์มใบรับรองแพทย์ รวมทั้งบันทึกรายการนัดลูกค้าได้
- การลงบันทึกการทําหตัถการต่างๆ สามารถลงรายละเอียดตำแหน่งการรักษาได้
ระบบตรวจนับสต๊อกด้วยมือถือ โปรแกรมตรวจนับสต๊อก เครื่องนับสต๊อก ใช้งานง่ายแค่ปลายนิ้วสัมผัส
ครื่องมือเสริมความสะดวกสำหรับงานควบคุมคลังสินค้า สามารถตรวจนับสินค้าที่มีอยู่จริงในสต๊อกและในระบบเพื่อทำการเปรียบเทียบส่วนต่างของจำนวนที่ขาดเกิน แล้วนำมาปรับยอดในระบบให้ตรงกับจำนวนจริงที่นับได้ ช่วยลดภาระงานตรวจนับสต๊อกที่สุดแสนจะลำบากให้ทุกอย่างเป็นเรื่องง่าย อุปกรณ์เสริมสำหรับโปรแกรม EasyPOS ตอบโจทย์ร้านค้าร้านขายของสมัยใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ
ใบเสร็จรับเงินขนาดเล็ก
ใบเสร็จรับเงินขนาดเล็ก สำหรับระบบบริหารงานร้านขายยา ช่วยเพิ่มความสะดวกในการออกใบเสร็จรับเงิน
สามารถกำหนดการตั้งค่ารูปแบบใบเสร็จได้ว่าจะให้ออกมารูปแบบไหน เช่น กำหนดให้พิมพ์หรือไม่พิมพ์รายยาแต่ละตัวได้
ในใบเสร็จสามารถพิมพ์แต้มสะสมคงเหลือของลูกค้าสมาชิก ซึ่งเป็นระบบโปรโมชั่นส่งเสริมการขายช่วยดึงดูดลูกค้า
มีความเร็วมากในการออกใบเสร็จการรับชำระเงินแต่ละครั้ง และยังสามารถช่วยประหยัดกระดาษได้เยอะมากเพราะไม่ต้องใช้กระดาษแบบA4 อีกต่อไป
การเข้าถึงข้อมูลทั่วโลก ผู้บริหารสามารถเข้าไปดูข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลรายได้ประจำวัน สินค้าคงเหลือ ใบขอซื้อสินค้า ใบรับเข้าสินค้า และรายงานต่างๆ ได้หลากหลายช่องทางที่สะดวกและรวดเร็วด้วยอุปกรณ์ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะดูผ่านมือถือ ดูผ่านแท็บเล็ต ดูผ่านโน้ตบุ๊ก และคอมพิวเตอร์พีซี ทำให้ผู้บริหารได้รับข้อมูลรวดเร็วซึ่งเป็นข้อมูลที่ล่าสุดตลอดเวลา เพื่อนำไปวิเคราะห์และปรับปรุงกลยุทธ์แผนการทำงานต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง
รายงานข้อมูลออนไลน์ ระบบเชื่อมต่อข้อมูลออนไลน์ ทำให้ผู้บริหารสามารถเข้าถึงและเรียกดูข้อมูลต่างๆ ได้แบบ Realtime ผ่านอินเตอร์เน็ตได้ทุกที่ทุกเวลาทั่วโลก ทำให้สามารถทำการวิเคราะห์ข้อมูลและผลลัพธ์ต่างได้ทันที ไม่ว่าจะเป็นรายงานสำคัญๆ เช่น รายงานรายได้แต่ละสาขา รายงานสต๊อกคงเหลือ รายงานสินค้าที่ต้องสั่งซื้อ รายงานลูกค้าใหม่แต่ละสาขา เป็นต้น
ระบบเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างสาขา โปรแกรมบริหารงานคลินิก EasyClinic รองรับระบบเน็ตเวิร์ค หรือ ระบบสาขาย่อย กรณีที่มีการเปิดคลินิกหลายๆสาขาทั่วประเทศ ผู้บริหารสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทุกสาขา ไม่ว่าจะเป็น ยอดรายได้ประจำวันประจำเดือนประจำปี ของแต่ละสาขา รายงานยอดสต๊อกคงเหลือแต่ละสาขา รวมไปถึงข้อมูลการสั่งซื้อและรับเข้าสินค้า สามารถทราบยอดรายได้ของแต่ละสาขาได้แบบ Realtime ที่สำคัญยังสามารถซิงค์ข้อมูลลูกค้าแต่ละสาขาได้ ดังนั้นข้อมูลลูกค้าจะถูกส่งไปเก็บไว้ที่คลินิกทุกๆ สาขา ทำให้สะดวกสะบายสำหรับลูกค้าในการเข้าไปรักษาที่คลินิกแต่ละที่ ไม่ต้องเสียเวลาคีย์ข้อมูลลูกค้าใหม่
เครื่องอ่านบัตรประชาชน อุปกรณ์เสิรมความสะดวกสำหรับการบริหารงานคลินิก สามารถอ่านข้อมูล คำนำหน้า ชื่อ นามสกุล เพศ วันเดือนปีเกิด ที่อยู่ รหัสไปรษณีย์ รวมไปถึงรูปภาพประจำตัว โปรแกรม EasyClinic สามารถดึงข้อมูลจากบัตรประชาชนของลูกค้าเพื่อบันทึกเก็บเป็นประวัติได้อย่างสะดวกรวดเร็วแค่ปลายนิ้ว ช่วยลดขั้นตอนการทำงานและข้อผิดพลาดต่างๆ ไปได้เยอะ ไม่ต้องเสียเวลาคีย์ข้อมูลชื่อที่อยู่ของลูกค้าอีกต่อไป
ติดตามเรื่องราวใหม่ๆ กับเราได้ที่ Facebook
ผู้เยี่ยมชมวันนี้
สมาชิก : 0ไม่ระบุตัวตน : 20
รวมทั้งหมด : 20
ผู้เยี่ยมชมทั้งหมด
สมาชิก : 0ไม่ระบุตัวตน : 195770
รวมทั้งหมด : 195770